รูปที่ 1 บล็อกไดอะแกรมส่วนประกอบของระบบสมองกลฝังตัว
จากรูประบบสมองกลนั้นจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง (CPU), หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ (ALU), ไทเมอร์และเคาน์เตอร์ (Timer/Counter), วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา (Oscillator),อินพุต (Input), เอาต์พุต (Output), หน่วยความจำโปรแกรม (ROM), หน่วยความจำข้อมูล (RAM) และบัส(Bus) ทำหน้าที่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ระบบสมองกลผังตัวนั้นมีประโยชน์มากช่วยให้วิศวกรหรือผู้ออกแบบสามารถสร้างวงจรการทำงานได้เล็กลง และมีความซับซ้อนน้อยลงเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นในส่วนของฮาร์ตแวร์และซอฟต์แวร์ ทำให้การใช้งานและการพัฒนาโปรแกรมทำได้ง่าย นอกจากจะมีส่วนประกอบดังรูปที่ 1.1 แล้วในปัจจุบันยังมีการเพิ่มส่วนการทำงานด้านการประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) เพื่อใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การแปลงสัญญาณแอนาลอกเป็นดิจิตอล (ADC) การสร้างสัญญาณพัลส์วิดธ์มอดูเลชั่น (PWM) จากคุณสมบัติที่เพิ่มเข้ามาทั้งหมดนั้น ทำให้ระบบสมองกลฝังตัวสามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาทางด้านดังกล่าวสำหรับประเทศไทยแล้วยังไม่กว้างขวาง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การพัฒนาโปรแกรมที่ยาก เนื่องจากต้องใช้ภาษาโปรแกรม อาทิ โปรแกรมภาษาซี และกระบวนการโปรแกรมที่ซับซ้อน มาจากเครื่องมือที่ใช้งานยาก ไม่มีแหล่งความรู้ อีกอย่างที่สำคัญคือ การหาซื้อชุดเพื่อใช้ในการศึกษาที่มีพร้อมสามารถใช้งานได้ทันที มี Application ให้ดูและทำตาม
ด้วยเหตุดังกล่าวทีมงานใน "หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบสมองกลฝังตัว" จึงมีแนวความคิดพัฒนาบอร์ดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ โดยการสร้างให้ตอบสนองต่อการใช้งานที่หลากหลาย มีการเพิ่มเติมน้อยที่สุด ทุดชุดสามารถใช้งานร่วมกันได้ทันทีโดยที่มีการเชื่อมต่อด้วยสายหรือการบัดกรีที่น้อยที่สุด ทำให้การทำงานหรือการพัฒนาที่ไม่สะดุด มีทั้งพื้นฐานจนถึงการใช้งานในระดับการทำงานวิจัยระดับสูง ทุกชิ้นงานสร้างจากประสบการณ์ ที่ได้พบเจอกับการทำงานด้านนี้มากว่า 10 ปี แนวคิดคือ "ผู้พัฒนาต้องการใช้เพียงความคิดในการสร้างสรรค์ ส่วนการสร้างต้นแบบนั้นบางครั้งไม่จำเป็นต้องสร้างเอง" และยิ่งน้อยยิ่งดี
สุดท้ายหวังสิ่งที่เราสร้างสรรค์อาจตอบสนองต่อความต้องการของทุกท่านที่ทำงานในด้านการพัฒนาโปรแกรมของระบบสมองกลฝังตัว ด้วยการใส่การประยุกต์ใช้งานไว้พอที่จะเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาต่อยอดได้
ในส่วนของโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนานั้นสามารถร้องขอมาได้ครับ songklod.sriprang@gmail.com แล้วท่านจะได้ทำงานไปพร้อมกับทีมงานของเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น