วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เกี่ยวกับเรา

เราคือผู้ผลิตและนำเข้า magic cube keyboard for iPad & iPhone สิ่งที่เราคำนึงถึงมากที่สุดคือ คุณภาพของสินค้า ตลอดจนความพอใจของลูกค้า ภายใต้ราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป เรานำเข้าและผลิตสินค้าถูกต้องตามกฏหมาย


เรามุ่งเน้นที่จะเป็นร้านค้าออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือและมีสินค้าจำหน่าย ในราคาที่เหมาะสมที่สุด สินค้าของเรา เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงเมื่อเทียบกับราคา มั่นใจได้ในระบบคุณภาพ ROHS, CE และ ISO9001 ที่ยอมรับทั่วโลก

เราเป็นศูนย์จำหน่าย  Cube Laser Virtual Keyboard for iPad & iPhone ราคาถูก ที่คุณสามารถไว้ใจในคุณภาพและราคาได้ สินค้าทุกชิ้นของร้านเรา รับประกัน 1 ปี เราขอขอบคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยที่ให้ความไว้วางใจทางร้านได้นำเสนอสินค้าดี มีคุณภาพ แถมยังราคาถูกกว่าท้องตลาด

เวลาให้บริการ (Business hour)
โทรสอบถามได้ในเวลา
จันทร์ – ศุกร์ ช่วงเวลา 9.00 – 17.00 น
เสาร์ – อาทิตย์ ช่วงเวลา 10.00 – 16.00 น
ตอบอีเมล์ทุกๆ วันภายใน 24 ชั่วโมง

การสั่งซื้อสินค้า

สอบถามทางโทรศัพท์ (081-9222638) หรือ

อีเมล์ (chanyut.na@gmail.com)

ชำระค่าสินค้าโดยการโอนเงิน
เราจะทำการจัดส่งสินค้าในวันถัดไปโดยบริการ EMS หรือ TNT และจะส่ง Tracking No. ให้ท่านทาง SMS
รอรับสินค้าภายใน 1-2 วันหลังจัดส่ง
ทดลองใช้สินค้า และ สินค้าไม่ตรงกับที่ลงรายละเอียดไว้ หรือไม่พอใจในสินค้า เรายินดีคืนเงิน 100% (ภายใน 7 วัน)

วิธีการชำระเงิน: โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร

ธนาคารกสิกรไทย
หมายเลขบัญชี: 6132107465
ชื่อบัญชี: ชาญยุทธ นาสมปอง
ออมทรัพย์  สาขาประดิษฐ์มนูธรรม


ธนาคารไทยพาณิชย์
หมายเลขบัญชี: 2442056813
ชื่อบัญชี: ชาญยุทธ นาสมปอง
ออมทรัพย์ สาขาโกลเด้นเพลส (ประดิษฐ์มนูธรรม)

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

สิ่งที่เรากำลังสร้างสรรค์ในชื่อ Center for Electrical and Embedded System Technology (CEEST)

เพื่ออนาคตของการเรียนการสอนในแบบที่ปฏิบัติงานจริง




เพราะเรา คือ Center for Electrical and Embedded System Technology (CEEST) มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรานะครับ ที่ สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า มทร.รัตนโกสินทร์ วข.วังไกลกังวล แล้วพบกันนะครับ

หน่วยวิจัยนี้ก่อตั้งขึ้นโดย สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล โดยการรวมเงินระหว่าง ดร.ชาญวิทย์ บุญช่วย และนายทรงกลด ศรีปรางค์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาฯ เป็นเงิน 1,744,300.00 บาท ทำการจ้างนักวิจัย 1 คน ชื่อนายคณาพจน์ ยอดมณี นี่จะเป็นอีกหนึ่งทางแก้ปัญหาการเรียนการสอนในปัจจุบัน

"การดำเนินงานนี้จะยังคงดำเนินต่อไปได้ด้วยการหาเงินวิจัย ซึ่งหากขาดเงินในส่วนนี้เราจะไม่สามารถคงรักษาหน่วยวิจัยนี้ไว้ได้"

นายทรงกลด ศรีปรางค์

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

ชุดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC


เป็นชุดสำหรับทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC สามารถรองรับการใช้งานกับไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ดังนี้ PIC16F877, PIC16F877A และ PIC18F458 มีตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานมากมายเช่น การเขียนโปรแกรมแสดงผลออก LED จำนวน 16 หลอด, การเขียนโปรแกรมแสดงผลออก LDC16x2, การเขียนโปรแกรมแสดงผลออกกราฟฟิกแอลซีดีขนาด 128x64 เป็นตัน วงจรภายในชุดทดลองแสดงดังรูปที่ 1

และรูปส่วนประกอบต่างๆ ภายในชุดทดลอง





ใบงานการทดลองประกอบชุดทดลอง

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดหลักในการพัฒนา


แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับระบบฝังตัวหรือสมองกลฝังตัว (Embedded system) นั้นเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายเช่น ในงานอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ระบบการวัดและควบคุม ระบบการแปลงผันพลังงาน และในระบบการขับเคลื่อนไฟฟ้า เป็นต้น เนื่องจากมีราคาถูก การใช้งานง่ายสามารถแยกทำงานได้อย่างอิสระไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระบบฝังตัวหรือสมองกลฝังตัวนั้นเป็นระบบประมวลผลขนาดเล็กที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มความฉลาดและความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านซอร์ฟแวร์ ซึ่งจะแตกต่างจากระบบประมวลผลที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ภายในระบบสมองกลฝังตัวจะมีไมโครคอนโทรลเลอร์หรือไมโครโพรเซสเซอร์เป็นตัวประมวลผลและสั่งงาน หลักการทำงาน และส่วนประกอบพื้นฐานของระบบสมองกลฝังตัวนั้นจะเหมือนกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบดังแสดงเป็นบล็อกไดอะแกรมในรูปที่ 1

รูปที่ 1 บล็อกไดอะแกรมส่วนประกอบของระบบสมองกลฝังตัว

จากรูประบบสมองกลนั้นจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง (CPU), หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ (ALU), ไทเมอร์และเคาน์เตอร์ (Timer/Counter), วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา (Oscillator),อินพุต (Input), เอาต์พุต (Output), หน่วยความจำโปรแกรม (ROM), หน่วยความจำข้อมูล (RAM) และบัส(Bus) ทำหน้าที่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ระบบสมองกลผังตัวนั้นมีประโยชน์มากช่วยให้วิศวกรหรือผู้ออกแบบสามารถสร้างวงจรการทำงานได้เล็กลง และมีความซับซ้อนน้อยลงเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นในส่วนของฮาร์ตแวร์และซอฟต์แวร์ ทำให้การใช้งานและการพัฒนาโปรแกรมทำได้ง่าย นอกจากจะมีส่วนประกอบดังรูปที่ 1.1 แล้วในปัจจุบันยังมีการเพิ่มส่วนการทำงานด้านการประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) เพื่อใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การแปลงสัญญาณแอนาลอกเป็นดิจิตอล (ADC) การสร้างสัญญาณพัลส์วิดธ์มอดูเลชั่น (PWM) จากคุณสมบัติที่เพิ่มเข้ามาทั้งหมดนั้น ทำให้ระบบสมองกลฝังตัวสามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง

แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาทางด้านดังกล่าวสำหรับประเทศไทยแล้วยังไม่กว้างขวาง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การพัฒนาโปรแกรมที่ยาก เนื่องจากต้องใช้ภาษาโปรแกรม อาทิ โปรแกรมภาษาซี และกระบวนการโปรแกรมที่ซับซ้อน มาจากเครื่องมือที่ใช้งานยาก ไม่มีแหล่งความรู้ อีกอย่างที่สำคัญคือ การหาซื้อชุดเพื่อใช้ในการศึกษาที่มีพร้อมสามารถใช้งานได้ทันที มี Application ให้ดูและทำตาม

ด้วยเหตุดังกล่าวทีมงานใน "หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบสมองกลฝังตัว" จึงมีแนวความคิดพัฒนาบอร์ดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ โดยการสร้างให้ตอบสนองต่อการใช้งานที่หลากหลาย มีการเพิ่มเติมน้อยที่สุด ทุดชุดสามารถใช้งานร่วมกันได้ทันทีโดยที่มีการเชื่อมต่อด้วยสายหรือการบัดกรีที่น้อยที่สุด ทำให้การทำงานหรือการพัฒนาที่ไม่สะดุด มีทั้งพื้นฐานจนถึงการใช้งานในระดับการทำงานวิจัยระดับสูง ทุกชิ้นงานสร้างจากประสบการณ์ ที่ได้พบเจอกับการทำงานด้านนี้มากว่า 10 ปี แนวคิดคือ "ผู้พัฒนาต้องการใช้เพียงความคิดในการสร้างสรรค์ ส่วนการสร้างต้นแบบนั้นบางครั้งไม่จำเป็นต้องสร้างเอง" และยิ่งน้อยยิ่งดี 

สุดท้ายหวังสิ่งที่เราสร้างสรรค์อาจตอบสนองต่อความต้องการของทุกท่านที่ทำงานในด้านการพัฒนาโปรแกรมของระบบสมองกลฝังตัว ด้วยการใส่การประยุกต์ใช้งานไว้พอที่จะเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาต่อยอดได้ 

ในส่วนของโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนานั้นสามารถร้องขอมาได้ครับ songklod.sriprang@gmail.com แล้วท่านจะได้ทำงานไปพร้อมกับทีมงานของเรา